ท่ามกลางปัญหาโลกร้อนและสภาพแวดล้อมเป็นพิษรวมทั้งปัญหาการขาดแคลนพลังงาน พลังงานทดแทนจึงได้ก้าวเข้ามามีความสำคัญในฐานะผู้ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม โดยพลังงานทดแทนได้ถูกคิดค้นขึ้นเพื่อนำมาใช้ประโยชน์แทนพลังงานหลักอย่าง ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน น้ำมัน และพลังงานนิวเคลียร์ เป็นต้น ซึ่งพลังงานหลักเป็นพลังงานที่มนุษย์กำลังใช้กันอยู่อย่างสิ้นเปลืองแล้วกำลังจะหมดไป พลังงานทดแทนจึงได้เข้ามามีบทบาทสำคัญมากขึ้น
พลังงานทดแทนมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ พลังงานทดแทนที่ใช้แล้วหมดไป อย่างเช่น ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ นิวเคลียร์ และพลังงานที่สามารถนำกลับมาหมุนเวียนใช้ได้ หรือที่เรียกว่าพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ พลังงานลม ซึ่งเป็นพลังงานที่สามารถใช้ได้อย่างต่อเนื่องและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พลังงานหมุนเวียนที่เป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง ได้แก่
การค้นคว้าวิจัยในเรื่องของพลังงานทดแทนในขณะนี้ไปไกลถึงว่าจะมีสดาวเทียมผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในอวกาศ ถ้าเรื่องนี้สำเร็จจะสามารถส่งผ่านพลังงานจากแสงอาทิตย์จำนวนกว่า 1,000 เมกกะวัตถ์ เข้ามายังโลก และแปลงพลังงานไฟฟ้าที่ได้เป็นคลื่นไมโครเวฟ และส่งพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้มาใช้ยังสถานีผลิตไฟฟ้าบนโลก
เทคโนโลยีล่าสุดในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม โดยใช้เทคโนโลยีที่มีชื่อว่า Sheer Wind ซึ่งมีความสามารถในการเปลี่ยนพลังงานจากลมเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยการดักจับลม การบีบอัด การเร่งความเร็ว และเก็บเกี่ยวพลังงานไฟฟ้าจากระบบปล่องระบายลม สามารถเพิ่มความเร็วของลมสู่กังหันผลิตไฟฟ้าที่ติดตั้งไว้ในระดับพื้นดิน ทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้ในขณะที่ความเร็วของกระแสลมต่ำ นอกจากนี้ยังลดขนาดใบพัดของกังลม ระบบก็ไม่มีความซับซ้อน ไม่เกิดมลพิษทางเสียง ในขณะที่สามารถลดต้นทุนแต่สามารถผลิตได้มากขึ้น
แม้แต่ประเทศไทยเองก็ใช้ความสำคัญกับเรื่องการใช้พลังงานทดแทนเป็นอย่างมาก ซึ่งกระทรวงพลังงานโดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานก็ได้ออกแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558 – 2579 โดยให้ความสำคัญในการส่งเสริมการผลิตพลังงานจากวัตถุดิบพลังงานทดแทนที่มีอยู่ภายในประเทศให้ได้เต็มตามศักยภาพ การพัฒนาศักยภาพการผลิตพลังงานทดแทนด้วยเทคโนโลยีที่มีความเหมาะสม และการพัฒนาพลังงานทดแทนเพื่อผลประโยชน์ร่วมในมิติด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมแก่ชุมชน
สถานภาพการพัฒนาพลังงานทดแทนของประเทศไทย พบว่ามีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ. 2557 ประเทศไทยมีการใช้พลังงานทดแทนทั้งสิ้น 9,025,000 ตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (Ktoe) ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2556 คิดเป็นจำนวน 9.6 เปอร์เซ็นต์ การใช้พลังงานทดแทนจะใช้ในรูปของพลังงานความร้อนมากที่สุด โดยคิดเป็น 5,775,000 ตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ซึ่งมาจากพลังงานทดแทนในรูปแบบพลังงานชีวมวลมากที่สุด รองลงมาจากการใช้พลังงานทดแทนในรูปของพลังงานความร้อน คือ พลังงานไฟฟ้า ซึ่งได้จากพลังงานชีวมวลมากที่สุดเช่นเดียวกับพลังงานความร้อน คิดเป็น 2,451,820 ตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ
สำหรับการผลิตไฟฟ้าในประเทศไทย การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) กำลังให้ความสำคัญในการพัฒนาการผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังงานทดแทนเป็นอย่างมาก โดยพยายามศึกษาทดลองนำพลังงานทดแทน อย่างเช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังงานความร้อนใต้พิภพ มาใช้ผลิตไฟฟ้าแทนน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งเป็นพลังงานที่ประเทศนำเข้าและกำลังจะหมดไป
การใช้พลังงานทดแทนก็เหมือนเป็นเทรนใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมเนื่องจากสามารถใช้ทดแทนพลังงานหลักที่กำลังจะหมดไปได้ อีกทั้งยังเป็นพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้วมีราคาถูก จึงไม่น่าแปลกใจที่หลายหน่วยงานไม่ว่าภาครัฐหรือเอกชน ประเทศไทยหรือต่างประเทศก็ให้ความสำคัญกับพลังงานทดแทนเป็นอย่างมาก