มาทำความรู้จักกับพลังงานทดแทน..พลังงานช่วยโลก

มาทำความรู้จักกับพลังงานทดแทน..พลังงานช่วยโลก

พลังงานทดแทน

มาทำความรู้จักกับพลังงานทดแทน..พลังงานช่วยโลก

ทุกวันนี้เราคงได้ยินคำว่า “พลังงานทดแทน” อยู่เป็นประจำ ซึ่งพลังงานทดแทนเป็นนวัตกรรมสำคัญที่มนุษย์คิดสร้างขึ้นเพื่อนำมาใช้แทนพลังงานหลักอย่าง น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน พลังงานนิวเคลียร์ พลังงานน้ำ เราสามารถใช้พลังงานทดแทนแทนพลังงานเหล่านี้ได้ โดยพลังงานทดแทนก็เป็นพลังงานที่ได้จากธรรมชาติ

พลังงานทดแทนมีอยู่ 2 ประเภท ด้วยกัน ได้แก่

  1. พลังงานทดแทนจากแหล่งที่ใช้แล้วหมดไป เป็นพลังงานทดแทนที่ไม่สามารถนำมาใช้ได้ใหม่ เช่น ถ่านหิน หินน้ำ แก๊สธรรมชาติ
  2. พลังงานทดแทนที่สามารถหมุนเวียนได้ (Renewable Energy) หรือพลังงานหมุนเวียน เป็นพลังงานทดแทนที่เมื่อใช้ประโยชน์ไปแล้ว เราก็ยังสามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานใต้พิภพ พลังงานน้ำ พลังงานชีวมวล พลังงานหมุนเวียนเป็นพลังงานทดแทนที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเนื่องจากไม่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษและยังสามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพลังงานได้เป็นอย่างดี

พลังงานทดแทนที่เรากำลังพูดถึง ได้มาจากพลังงานเหล่านี้

    1. พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานหมุนเวียนที่ได้จากดวงอาทิตย์ เป็นพลังงานที่มีความสำคัญมาก เรานำเซลล์แสงอาทิตย์มาเพื่อผลิตไฟฟ้า โดยพลังงานจากแสงอาทิตย์เป็นพลังงานที่สะอาด ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไม่มีวันสิ้นสุด ประเทศไทยได้รับประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์เป็นอย่างมาก เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรจึงได้รับพลังงานแสงอาทิตย์ค่อนข้างสูง อย่างไรก็ตาม การนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้อาจมีข้อจำกัดที่ต้องใช้พื้นที่บริเวณใหญ่ในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ซึ่งจะต้องเป็นพื้นที่โล่งขนาดใหญ่เท่านั้น


    1. พลังงานความร้อนใต้พิภพ เกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกที่ทำให้เกิดแนวรอยเลื่อนแตกแยกขึ้น ทำให้น้ำไหลผ่านรอยแยกลงไปสู่ชั้นใต้พิภพแล้วได้รับความร้อนจากชั้นหิน เกิดเป็นน้ำร้อนหรือไอน้ำที่แทรกซึมขึ้นมาบนผิวดินตามรอยเลื่อนที่แตก สามารถนำมาถ่ายเทความร้อนให้กับของเหลวหรือสารที่มีจุดเดือดต่ำแล้วเดือดเป็นไอน้ำ ซึ่งไอน้ำนี้สามารถนำมาใช้ช่วยหมุนกังหันเพื่อขับเคลื่อนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า


    1. พลังงานลม เป็นงานที่สะอาดไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมแล้วสามารถใช้ได้อย่างไม่มีวันหมดเช่นเดียวกันกับพลังงานจากแสงอาทิตย์ โดยมีกังหันลมเป็นอุปกรณ์ในการช่วยนำประโยชน์จากพลังงานลมมาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าและใช้ในการสูบน้ำ ประเทศไทยได้รับกระแสลมโดยเฉลี่ยในระดับกลางถึงต่ำ


    1. พลังงานน้ำ โดยมากพลังงานน้ำสามารถนำมาจากเขื่อนเก็บน้ำ เราสามารถสร้างเขื่อนที่กักเก็บน้ำไว้ในที่สูง แล้วปล่อยให้น้ำไหลลงมาตามท่อเข้าสู่เครื่องกังหันน้ำ โดยสามารถน้ำพลังน้ำมาช่วยในการหมุนกังหันสำหับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าพลังน้ำได้เป็นอย่างดี ทำให้การเหนี่ยวนำในเครื่องกำเนิดไฟฟ้า


    1. พลังงานขยะ เป็นพลังงานที่ได้จากขยะที่มนุษย์เราใช้แล้วทิ้ง ไม่ว่าจะเป็น กระดาษ แก้ว เศษอาหาร หรือไม้ มาใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานไฟฟ้า โดยวิธีการนำขยะมาเป็นเชื้อเพลิงจะมีการนำขยะมาเผาบนตะแกรง ซึ่งความร้อนที่เกิดขึ้นจากการเผาขยะนี้สามารถนำมาใช้ต้มน้ำในหม้อจนเกิดเป็นไอน้ำร้อนแล้วเดือด ช่วยในการเพิ่มแรงดันของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า นับเป็นการนำของใช้ที่ไม่มีประโยชน์หรือคนทิ้งแล้วกลับมาใช้ให้ก่อประโยชน์อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังเป็นตัวช่วยในการกำจัดขยะ


    1. พลังงานชีวมวล เป็นพลังหมุนเวียนที่ได้จากธรรมชาติ อย่างเช่น ไม้ฟืน แกลบ กากอ้อย ใบไม้ เศษหญ้า วัชพืช รวมทั้งขยะและมูลสัตว์ ที่เหลือทิ้งจากการทำการเกษตรแล้วนำมาเผา เมื่อเผาจนเกิดความร้อนก็สามารถนำไปปั่นกลายเป็นพลังงานไฟฟ้าขึ้นมาได้ อีกวิธีหนึ่งที่เราสามารถนำเอาพลังงานชีวมวลมาใช้ประโยชน์ได้ คือ การนำขยะและมูลสัตว์มาหมักในที่ที่ไม่มีอากาศแล้วปล่อยให้เกิดกระบวนการย่อยสลายแล้วจะได้แก๊สชีวภาพเป็นเชื้อเพลิงให้เตา ตะเกียง เครื่องยนต์ และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า


ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่าพลังงานทดแทนหรือพลังงานทางเลือกเหล่านี้เป็นพลังงานที่ได้รับการค้นคว้าวิจัยในการใช้ประโยชน์มาเป็นอย่างดี พลังงานที่ได้จึงเป็นพลังงานที่สะอาดและมีประสิทธิเทียบเท่าใกล้เคียงกับพลังงานหลักที่เราใช้กันอยู่อย่างคุ้นเคย นอกจากนี้ยังมีราคาต้นทุนที่ถูก เราจึงสามารถใช้ประโยชน์จากพลังงานทดแทนได้โดยไม่ต้องกังวลว่าจะส่งผลกระทบใดหรือไม่

แม้แต่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ก็ประกาศจะขอเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนจากชีวมวล ขยะ พลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์ให้มากขึ้น ก่อนที่จะไปใช้พลังงานถ่านหินหรือพลังงานนิวเคลียร์ โดยปัจจุบัน กฟผ. ได้เดินหน้านำเครื่องผลิตไฟฟ้ากังหันลมขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังมีโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ นับเป็นโรงงานผลิตไฟฟ้าแบบใหม่ที่สามารถช่วยอนุรักษ์พลังงานให้เราได้ นอกจากนี้กระทรวงพลังงานก็ยังได้ออกแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558 – 2579 ขึ้นมาเป็นแม่บทในการพัฒนา เพิ่มกำลังการผลิต และประสิทธิภาพให้กับพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก โดยส่งเสริมการใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ภายในประเทศ นำมาพัฒนากับเทคโนโลยีเพื่อให้ผลที่ออกมามีประสิทธิภาพและประชาชนคนไทยสามารถใช้ประโยชน์ได้ในราคาที่ถูก และไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

หลายหน่วยงานหันมาใส่ใจใช้พลังงานทดแทนมากขึ้นเนื่องจากประสิทธิภาพที่ไม่ได้ต่างจากพลังงานหลัก สามารถลดราคาค่าใช้จ่ายให้ถูกลง อีกทั้งยังสามารถมีส่วนช่วยในการรักษาสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์พลังงานให้สามารถใช้ไปได้นานยิ่งขึ้นอย่างยั่งยืน หลายองค์กรก็กำลังพยายามค้นคว้าวิจัยเพื่อหาพลังงานทดแทนรูปแบบใหม่ ๆ พร้อมทั้งพัฒนาปรับปรุงพลังงานทดแทนที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น


Warning: Trying to access array offset on value of type null in /srv/users/labelle-asia/apps/w2energy/public/wp-content/themes/betheme 20.4.1/includes/content-single.php on line 278
W2energy