การใช้ทรัพยากรทดแทนในประเทศไทย และแนวโน้มของแหล่งพลังงานทดแทน

การใช้ทรัพยากรทดแทนในประเทศไทย และแนวโน้มของแหล่งพลังงานทดแทน

การใช้ทรัพยากรทดแทนในประเทศไทย และแนวโน้มของแหล่งพลังงานทดแทน

ประเทศไทยถือเป็นกลุ่มของประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งกำลังให้ความสำคัญกับระบบอุตสาหกรรมมากขึ้นเป้าหมายก็เพื่อพัฒนาประเทศให้ก้าวเข้าสู่ประเทศพัฒนาให้ได้ แน่นอนว่าการเร่งเครื่องอย่างนี้ย่อมทำให้ปริมาณการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ เพิ่มสูงมากขึ้นตามไปด้วยเป็นเงาตามตัว โดยลืมคิดไปว่าเมื่อใช้ทรัพยากรไปเรื่อย ๆ ที่เคยมีอยู่ก็ย่อมร่อยหรอลงไป การส่งเสริมในเรื่องการประหยัดทรัพยากรยังถือว่าอยู่ในระดับที่ยังต่ำ ดังนั้นคนที่ทราบข้อมูลจึงมีน้อย ความตระหนักในคุณค่าของพลังงานจึงไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร เมื่อเป็นเช่นนี้การใช้หรือรณรงค์ใช้พลังงานทดแทนจึงไม่ค่อยแพร่หลายเท่าที่ควร เมื่อถามคน 100 คนว่าทราบหรือไม่ว่าไทยมีการใช้พลังงานทดแทนหรือไม่ 97 คนตอบได้เลยว่ามีก็คือแผงเซลล์สุริยะหรือโซล่าเซลล์ เท่านั้นเอง แต่เมื่อถามกันต่อไปว่าแล้วแผงโซลาเซลล์นั่นคืออะไร มีกี่ชนิด ก็ไม่ต้องพูดถึง ถ้าไม่บังเอิญเจอนักวิชาการแล้วล่ะก็ไม่มีใครทราบข้อมูลเลย ผิดกับประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างอเมริกาหรือญี่ปุ่นที่ประชากรมีฐานความรู้ทางด้านพลังงานทดแทนดีมากทีเดียว เกินครึ่งทราบว่าคืออะไร และมีที่มาอย่างไร โจทย์นี้อาจเป็นโจทย์แรกที่สำคัญเลยก็ได้ในการเริ่มต้นพัฒนาทางด้านพลังงานทดแทนในประเทศไทย คือการให้ความรู้กับประชากรเป็นอันดับแรก

ในเมื่อความนิยมหรือความรู้จักเกี่ยวกับพลังงานทดแทนถูกจำกัดในวงแคบ การใช้พลังงานทดแทนในประเทศไทยจึงถือได้ว่าน้อยมาก ๆ เลยทีเดียว ซึ่งแหล่งพลังงานทดแทนที่ใช้มากที่สุดก็คือพลังงานน้ำจากเขื่อนเก็บน้ำหลาย ๆ แห่งในประเทศไทยนั่นเอง รองลงมาก็เป็นพลังงานจากแสงอาทิตย์ พลังงานชีวะมวล ตามลำดับ ในขณะที่พลังงานลมและพลังงานความร้อนใต้พิภพมีน้อยมากจนเรียกได้ว่าแทบไม่มีการนำมาใช้เลย ในขณะที่พลังงานทดแทนสำคัญที่สุดของโลกคือพลังงานลมซึ่งมีสัดส่วนการใช้เกือบร้อยละ 60 ของพลังงานทดแทนทั้งหมด คำถามสำคัญก็คือไทยควรหันหัวเรือไปหาพลังงานทดแทนทางด้านใดดี?

ก่อนจะตอบคำถามสำคัญนี้เรามาทำความรู้จักพลังงานทดแทนแต่ละประเภทก่อนว่ามีหลักการพื้นฐานอย่างไร เพื่อให้เกิดการเปรียบเทียบแล้วคุณเองก็จะตอบได้เองว่าประเทศไทยเหมาะกับพลังงานทดแทนแบบใด พลังงานน้ำที่ได้จากเขื่อนนั้นใช้การไหลของน้ำผ่านกังหันที่ทำหน้าที่เป็นไดนาโมเพื่อปั่นไฟฟ้าแล้วเก็บสะสมไว้ แสดงว่าน้ำยิ่งไหลแรงยิ่งไหลเชี่ยวก็ยิ่งทำให้ได้ปริมาณพลังงานไฟฟ้ามากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นพื้นที่ที่เหมาะกับการใช้พลังงานแบบนี้คือการทำเขื่อนให้สูงในขณะเดียวกันปริมาณน้ำต้องมากพอให้เกิดการเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ตลอดปี พลังงานแบบต่อมาก็คือพลังงานจากลม การเปลี่ยนรูปพลังงานก็คล้ายกับน้ำเพียงแต่เปลี่ยนเป็นกังหันลมซึ่งเชื่อมต่อกับไดนาโมเพื่อปั่นไฟฟ้าแทน พื้นที่ที่เหมาะกับการใช้พลังงานลมควรเป็นบริเวณชายทะเลเพราะมีการเกิดลมบกลมทะเลตลอด จริง ๆ แล้วพื้นที่ที่เป็นภูเขาหุบเขาก็เหมาะแต่ยากในเรื่องการติดตั้งจึงไม่ค่อยนิยมกัน แต่ข้อเสียที่ตามมาก็คือหากเป็นชายหาดสำหรับการท่องเที่ยวแล้วจะทำให้เสียทัศนียภาพไปเลย แสดงว่าประเทศใดเป็นประเทศท่องเที่ยวก็แทบจะหมดหวังเพราะรายได้จากธุรกิจท่องเที่ยวสูงกว่าการประหยัดพลังงาน พลังงานความร้อนใต้พิภพเป็นการนำความร้อนจากใต้ดินมาทำการเปลี่ยนรูปผ่านไอร้อนหรือน้ำร้อนทำให้ของร้อนนั้นไหลผ่านกังหันที่ทำหน้าที่เป็นไดนาโมปั่นไฟเช่นกัน พื้นที่ที่เหมาะสมก็ควรเป็นท้องที่ที่อยู่ในเขตที่มีการประทุของความร้อนใต้พิภพอย่างน้ำพุร้อนหรือแนวภูเขาไฟ อย่างนี้เป็นต้น พลังงานชีวมวล เป็นการเปลี่ยนของเสียที่ได้จากกระบวนการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม หรือภาคครัวเรือน พลังงานทดแทนแบบนี้เหมาะกับทุกพื้นที่ แต่ผู้ใช้ต้องมีความรู้แล้วสามารถนำไปใช้กับครัวเรือนตนเองได้ เพราะเป็นการเปลี่ยนจากของเสียเป็นก๊าซหุงต้มที่ไม่มีสีไม่มีกลิ่น จากนั้นจะนำไปใช้โดยตรงเลย หรือหากมีปริมาณมากก็อาจทำเป็นธุรกิจได้ พลังงานแสงอาทิตย์จะถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าด้วยแผงเซลล์สุริยะ หรือเปลี่ยนเป็นความร้อนก่อนจากอุปกรณ์อื่น ๆ เช่นรางพาราโบลาสะท้อนแสง ท่อนาโนคาร์บอน เป็นต้น พื้นที่ที่เหมาะกับการใช้พลังงานแบบนี้ควรเป็นพื้นที่ที่ใกล้เส้นศูนย์สูตรเพราะได้รับพลังงานจากแสงมากที่สุดและได้รับพลังงานแสงตลอดปีด้วย


เดาไม่ยากใช่ไหมล่ะ? จริง ๆ แล้วประเทศไทยเหมาะมากกับการใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานทดแทนหลัก เนื่องจากอยู่ใกล้บริเวณเส้นศูนย์สูตร นอกจากแสงอาทิตย์ที่ได้รับอย่างเต็มที่ตลอดปีแล้วอุณหภูมิโดยเฉลี่ยทั้งปีก็สูงมาก ข้อจำกัดก็คือต้องมีอุปกรณ์ที่ต้องใช้นาโนเทคโนโลยีมาช่วยเพื่อเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นไฟฟ้าหรือความร้อน ซึ่งทีมวิจัยจากสถาบันชั้นนำก็กำลังเร่งคิดค้นกันอยู่เพราะตระหนักถึงจุดเด่นเรื่องนี้แหละ ประกอบกับมีฐานความรู้จากหลาย ๆ ประเทศทำให้วิวัฒนาการของแผงเซลล์สุริยะมีการเปลี่ยนเจเนอเรชันไปเป็นอีกประเภทแล้วซึ่งมีประสิทธิภาพดีกว่าเดิมมากและมีพัฒนาการที่เร็วเสียด้วยในระยะเวลาแค่ไม่ถึง 10 ปีประสิทธิภาพดีกว่าแบบเดิมเกือบเท่าตัวเมื่อเทียบรูปแบบที่ทำกันมานานกว่า 30 ปีเสียด้วย ปัจจุบันในแวดวงนักวิจัยจึงเกิดความตื่นตัวเป็นอย่างมากที่จะคิดค้นและพัฒนาอุปกรณ์เปลี่ยนพลังงานแสงเป็นไฟฟ้าหรือความร้อน ให้เทียบชั้นได้กับไดนาโมเพื่อจะได้เปลี่ยนเจเนอเรชันของพลังงานทดแทนไปเป็นพลังงานแสงเต็มตัวเลยในอนาคต


Warning: Trying to access array offset on value of type null in /srv/users/labelle-asia/apps/w2energy/public/wp-content/themes/betheme 20.4.1/includes/content-single.php on line 278
W2energy